www.mae-o.go.th
แม่อ้อน่าอยู่ เชิดชูวัฒนธรรม สาธารณสุขเลิศล้ำ นำการศึกษา พาเกษตรกรสู่สากล

โทรศัพท์

0-5316-0816

199 หมู่ 6 บ้านแม่แก้วกลาง ตำบลแม่อ้อ อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย 57120

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

คำขวัญตำบลแม่อ้อ

 พระธาตุกู่แก้วศักดิ์สิทธิ์ แหล่งผลิตครกหิน ถิ่นคนดีมีน้ำใจ เลื่องลือไกลประเพณีพระเจ้าบุ

วิสัยทัศน์ตำบลแม่อ้อ 

 แม่อ้อน่าอยู่  เชิดชูวัฒนธรรม สาธารณสุขเลิศล้ำ นำการศึกษา พาเกษตรกรสู่สากล

 คณะผู้บริหาร

         1. นายธีรพงษ์ เผ่ากา         นายกองค์การบริหารส่วนตำบลแม่อ้อ
         2. นายประทน  มูลเท         ประธานสภาองค์การบริหารส่วนตำบลแม่อ้อ
         3. นายสมบูรณ์  มาลารัตน์     ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแม่อ้อ 

ข้อมูลทั่วไป
1. สภาพทั่วไป

               1.1. ที่ตั้งและอาณาเขต

           ตำบลแม่อ้อ เป็นตำบลหนึ่งใน 15 ตำบล ในเขตการปกครองของอำเภอพานจังหวัดเชียงราย อยู่ทางทิศตะวันออกของอำเภอพาน ห่างจากอำเภอพาน ประมาณ 25 กิโลเมตร มีเนื้อที่ในเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่อ้อ 130 ตารางกิโลเมตรหรือประมาณ 95,600 ไร่
ทิศเหนือ            จดตำบลห้วยสัก        เขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก     จดตำบลดอยลาน       เขตอำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก       จดตำบลเจริญเมือง     เขตอำเภอพาน
ทิศใต้                 จดตำบลสันมะเค็ด,ตำบลสันติสุข   เขตอำเภอพาน

             1.2. ตำบลแม่อ้อ แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 หมู่บ้าน ดังนี้
หมายเหตุ ข้อมูลจากสำนักงานทะเบียน กรมการปกครอง ณ เดือน เมษายน พ.ศ.2564

2. อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ในเขตตำบลแม่อ้อ ร้อยละ 90 ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ พืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง กระเทียม ถั่วลิสง ขิง เห็ด ผักสวนครัว ผลไม้ สัปปะรด เห็ดฟาง สัตว์เลี้ยงที่ทำรายได้ได้แก่ หมู ไก่ วัว ควายนอกจากฤดูทำนา ประชากรที่ไม่ได้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจะประกอบอาชีพรับจ้าง และทำอุตสาหกรรมในครัวเรือนได้แก่ ทอผ้า หน่อไม้อัด แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่นกล้วยฉาบ กล้วยเชื่อมตำบลแม่อ้อ มีพื้นที่ทำการเกษตร ประมาณ 24,155 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ทำนาข้าว ทำไร่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่วลิสง และทำสวนผลไม้ ได้แก่ ลำไย มะม่วง เป็นต้น

3. ข้อมูลทางเศรษฐกิจ
ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคมในระดับครัวเรือนและหมู่บ้าน หน่วยธุรกิจ ในเขต อบต. พื้นที่การเกษตร 24,155 ไร่ คุณภาพดินทำการเกษตร ดินส่วนใหญ่เป็นกรวดทราย หน้าดินถูกชะล้าง พื้นที่ทำการเกษตรเป็นที่ราบสูง ขาดแคลนน้ำที่จะนำไปใช้ในการเกษตรกรรมในฤดูแล้ง หน่วยธุรกิจในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลแม่อ้อ ได้แก่

Untitled2

4. สภาพสังคม
         –  โรงเรียนประถมศึกษา             3  แห่ง
         –  โรงเรียนมัธยมศึกษา               1  แห่ง
         –  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน     1  แห่ง
         –  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                 1  แห่ง
         –  ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน     20 แห่ง

สถาบันและองค์กรศาสนา
         –   วัด                       13   แห่ง
         –    คริสตจักรชัยสวัสดิ์    1    แห่ง

าธารณสุข 
      – โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลแม่อ้อ 1 แห่ง  โทรศัพท์ 053-671043
        บุคลากร 10 คน   ตั้งอยู่ที่หมู่ 19 บ้านแม่แก้ว ตำบลแม่อ้อ 
      –  สถานพยาบาลเอกชน  3  แห่ง
      –  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ 98 %

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
      –  สถานีตำรวจภูธรตำบลแม่อ้อ 1 แห่ง  โทรศัพท์ 053-671600 
        ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 9 บ้านเด่นชัย ตำบลแม่อ้อ
        พ.ต.ท. จรัญ  สุวรรณเวช   สารวัตรใหญ่สถานีตำรวจภูธรแม่อ้อ
        จำนวนข้าราชการตำรวจมีทั้งหมด  40 นาย

การโทรคมนาคม
      –   ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข       1  แห่ง
      –   ระบบอินเตอร์เน็ต free wifi   10 จุด

การไฟฟ้า  ใช้ไฟฟ้า
       ตำบลแม่อ้อมีไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้ครบทุกหมู่บ้าน  แต่ยังไม่ครบทุกครอบครัวเรือน และยังอยู่ในระหว่างการขอขยายเขตเพิ่มเติมอีกหลายครอบครัว

แหล่งน้ำธรรมชาติ
      –   ลำน้ำ  ลำห้วย          9   สาย
      –   บึง  หนองน้ำอื่นๆ      8   แห่ง
      –  น้ำแม่อ้อ ต้นกำเนิดจากเทือกเขาดอยทอง อยู่ในเขตตำบลห้วยสัก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไหลผ่าน ม.1 ม.2 ม.8 ม.7 และไหลไปรวมกับแม่น้ำคาว ที่ ม.3 
      –  น้ำแม่แก้ว ต้นกำเนิดมาจากดอยแม่แก้ว ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตำบล ไหลผ่าน หมู่บ้าน ม.10 ม.6 ม.14 และไหลไปรวมกับแม่น้ำคาว ที่ ม.3
      –  น้ำแม่คาว ต้นกำเนิดจากการไหลมารวมกัน ของแม่น้ำหลายสาย และลำห้วยจากตำบลธารทอง ตำบลทรายขาว และตำบลสันกลาง ไหลผ่านตำบลแม่อ้อ ม.5 ม.12 ม.4 ม.9 ม.3 ไหลไปรวมกันน้ำแม่ฮ่าง ที่ ม.14 ตำบลสันมะเค็ด
      –  หนองบัวน้อย ม.11 หนองผา ม.2 หนองคือเวียง ม.13 หนองบัว ม.10  หนองบวกก๋อห้า ม.6 หนองแซะ ม.9 หนองบ่อนไก่ ม.4 และบวกป่าแฝก

แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
      –  บ่อน้ำใช้    1,155   แห่ง
      –  อ่างเก็บน้ำ 2 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำแม่อ้อ ม.1 และอ่างเก็บน้ำแม่แก้ว ม.10
     –   บ่อน้ำตื้น      จำนวน         829     แห่ง
     –   บ่อบาดาล     จำนวน         375     แห่ง
     –   ประปา         จำนวน           18     แห่ง
     –   อ่างเก็บน้ำ     จำนวน            2      แห่ง
     – อ่างเก็บน้ำบ้านแม่อ้อ ม.1 บ้านแม่อ้อใน และอ่างเก็บน้ำ ม.10 บ้านแม่แก้วเหนือ

ทรัพยากรป่าไม้
   –  ป่าสงวนแห่งชาติดอยแม่แก้ว

ทรัพยากรดิน
       พื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ดินเป็นดินร่วนปนทรายขาดน้ำเป็นบางแห่ง บางแห่งดินค่อนข้างเป็นทรายเหมาะที่จะปลูกมันสำปะหลัง ข้าวโพด ถั่วต่างๆ

  พื้นที่ทิศตะวันตก พื้นที่เป็นภูเขา และเทือกเขามีความลาดชันมากดินเป็นดินปนทรายบางแห่งเป็นดินลึกระบบน้ำเหลว ไม่เหมาะสำหรับเพาะปลูก ควรสงวนเป็นป่าไม้ ธรรมชาติ บริเวณ ตอนกลางบางพื้นที่เป็นดินเหนียว  แต่ดินขาดอินทรียวัตถุ หน้าดินถูกชะล้าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำ  พื้นที่ราบลุ่มใกล้แหล่งน้ำธรรมชาติ บางปีน้ำท่วม ควรจัดให้มีระบบชลประทาน

มวลชนจัดตั้ง
            –  ลูกเสือชาวบ้าน       จำนวน   3 รุ่น     650    คน|
            –  อปพร.                 จำนวน                75    คน
            –  สายตรวจอาสา       จำนวน               195    คน

5. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
             5.1   การรวมกลุ่มของประชาชนในชุมชน
             จำนวนกลุ่มทุกประเภท  62 กลุ่ม แยกประเภทกลุ่มได้ดังนี้
กลุ่มออมทรัพย์  9 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มออมทรัพย์วัดกู่แก้ว กลุ่มออมทรัพย์คริสตจักรชัยสวัสดิ์ ฯลฯ กองทุนหมุนเวียนหมู่บ้าน กองทุน ก ข ค จ กลุ่มเกษตรกร       กลุ่มออมทรัพย์เยาวชน
กลุ่มอาชีพ  49 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มปุ๋ยเคมี  กลุ่มเย็บผ้า ประดิษฐ์ดอกไม้ ทอผ้า เลี้ยงไก่  ทำขนม เลี้ยงวัว จักสาน ถักยอ ผลิตไม้กวาด ทอเสื่อ เลี้ยงหมู และกลุ่มอื่น|
กลุ่มอื่นๆ 5 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ติดเชื้อ กลุ่มเยาวชน กลุ่ม อสม. กลุ่มพัฒนาสตรี

              5.2   จุดเด่นของพื้นที่ (ที่เอื้อต่อการพัฒนาตำบล)
ตำบลแม่อ้อมีป่าสงวนแห่งชาติดอยแม่แก้วและอ่างเก็บน้ำแม่แก้วน้ำตกห้วยแม่แก้ว พระธาตุกู่แก้ว หนองบัว  ด้านการเกษตร มีพื้นที่ทำการเกษตร 24,155 ไร่ ผลผลิตที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ถั่ว กระเทียม เห็ด ลำไย สัตว์เศรษฐกิจ ได้แก่ วัว ควาย หมู ไก่ ฯลฯด้านอุตสาหกรรมในครัวเรือน ได้แก่ ทอผ้า ตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูป จักรสาน แปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ทอเสื่อกก พรมเช็ดเท้า ฯลฯ

            5.3   ปัญหาข้อจำกัดในการพัฒนา
พื้นที่การเกษตรเป็นที่ราบสูง ในฤดูแล้งขาดแคลนน้ำทำการเกษตร
ดินเป็นดินร่วนปนทรายไม่อุ้มน้ำ
ประชาชนขาดความรู้ในการประกอบอาชีพอื่นนอกจากทำนา
ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน ในการดำเนินกิจการ
ประชาชนขาดความรู้ในการขยายผลผลิต และจำหน่ายสู่ตลาด
ประชาชนขาดความรู้ในการปรับปรุงคุณภาพดินและปลูกพืชไม่เหมาะสมกับสภาพดิน
ประชาชนขาดความรู้ ในด้านเทคนิคการเกษตรแผนใหม่
อัตราค่าจ้างแรงงานต่ำและไม่มีงานทำตลอดปี

ข้อมูลทั่วไป
ข่าวสารล่าสุด